ประเพณีปีใหม่ม้ง

งานประเพณีปีใหม่ม้ง หรือที่ชาวม้งเรียกกันว่า “น่อเป๊โจ่วฮ์” เทศกาลปีใหม่ยังแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางสังคม ดังเช่น การกราบไหว้ผู้หลักผู้ใหญ่ในเผ่า นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นความผูกพันวิถีความเชื่อ
Image

ประเพณีปีใหม่ม้ง
"น่อเป๊โจ่วฮ์"

ประเพณีปีใหม่ม้ง หรือที่ชาวม้งเรียกกันว่า “น่อเป๊โจ่วฮ์” แปลตรงตัวได้ว่า “กินสามสิบ” สืบเนื่องจากชาวม้งจะนับช่วงเวลาตามจันทรคติ โดยจะเริ่มนับตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ ไปจนถึง 30 ค่ำ (ซึ่งตามปฏิทินจันทรคติจะแบ่งออกเป็นข้างขึ้น 15 ค่ำ และข้างแรม 15 ค่ำ) เมื่อครบ 30 ค่ำ จึงนับเป็น 1 เดือน ดังนั้นในวันสุดท้าย (30 ค่ำ) ของเดือนสุดท้าย(เดือนที่ 12) ของปีจึงถือได้ว่าเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ช่วงวันฉลองปีใหม่ส่วนใหญ่จะตกอยู่ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม

ช่วงเทศกาลปีใหม่เป็นช่วงพักผ่อน และเป็นโอกาสในการเลือกคู่ครองเพราะกิจกรรมรวมผู้คนจากต่างหมู่บ้าน เทศกาลปีใหม่ยังแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางสังคม ดังเช่น การกราบไหว้ผู้หลักผู้ใหญ่ในเผ่า นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นความผูกพันวิถีความเชื่อ เช่น การฆ่าสัตว์เพื่อเซ่นไหว้ การกราบไหว้เทพยดา ผี วิญญาณของบรรพชน การถือฤกษ์งามยามดี ทั้งหญิงและชาย ต่างพากันสวมชุดประจำเผ่ากันทุกคน ด้วยเครื่องแต่งกายอันวิจิตรงดงาม ซึ่งแต่เดิมนั้นจะนิยมสวมใส่เสื้อสีดำแขนยาว ปลายแขนเสื้อจะมีการปักลวดลายอย่างสวยงาม ขอบแขนเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยผ้าที่ต่างสีจากตัวเสื้อ

ซึ่งเป็นงานรื่นเริงของชาวม้งของทุกๆ ปี จะจัดขึ้นหลังจากได้เก็บเกี่ยวผลผลิตในรอบปีเรียบร้อย และเป็นการฉลองถึงความสำเร็จในการเพาะปลูกของแต่ละปี ซึ่งจะต้องทำพิธีบูชาถึงผีฟ้า - ผีป่า – ผีบ้าน ที่ให้ความคุ้มครอง และดูแลความสุขสำราญตลอดทั้งปี รวมถึงผลผลิตที่ได้ในรอบปีด้วย ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะทำการฉลองกันอย่างพร้อมเพรียงกัน หรือตามวันและเวลาที่สะดวกของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งโดยมากจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ประเพณีฉลองปีใหม่ม้งนี้ชาวม้งเรียกกันว่า “น่อเป๊โจ่วฮ์” แปลตรงตัวได้ว่า “กินสามสิบ” สืบเนื่องจากชาวม้งจะนับช่วงเวลาตามจันทรคติ โดยจะเริ่มนับตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ ไปจนถึง 30 ค่ำ (ซึ่งตามปฏิทินจันทรคติจะแบ่งออกเป็นข้างขึ้น 15 ค่ำ และข้างแรม 15 ค่ำ) เมื่อครบ 30 ค่ำ จึงนับเป็น 1 เดือน ดังนั้นในวันสุดท้าย (30 ค่ำ) ของเดือนสุดท้าย(เดือนที่ 12) ของปีจึงถือได้ว่าเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ช่วงวันฉลองปีใหม่ส่วนใหญ่จะตกอยู่ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม ในวันดังกล่าวหัวหน้าครัวเรือนของแต่ละบ้านจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อความเป็นสิริมงคลของครัวเรือน ถัดจากวันส่งท้ายปีเก่าไป 3 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ 2 ค่ำและ 3 ค่ำของเดือนหนึ่ง จัดเป็นวันฉลองปีใหม่อย่างเป็นทางการ ซึ่งทุกคนจะหยุดหน้าที่การงานทุกอย่างในช่วงวันดังกล่าวนี้ และจะมีการจัดการละเล่นต่างๆ ในงานขึ้นปีใหม่ เช่น การละเล่นลูกช่วง การตีลูกข่าง การร้องเพลงม้ง

ทุกวันนี้แม้งานปีใหม่ม้งคงจัดตามช่วงเวลาส่งท้ายปีตามจันทรคติ หรือจะตกอยู่ราวเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม แต่ความหลากหลายของผู้คน ลักษณะการแต่งกาย การจัดงานและหน่วยงานในระดับท้องถิ่นมีบทบาทอย่างเป็นทางการมากขึ้น ในทางหนึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่สนองการท่องเที่ยว แต่ขณะเดียวกันอาจเป็นโอกาสอันดีให้เกิดการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมผ่านงานรื่นเริงและการละเล่น สุดท้ายสิ่งที่คงอยู่ในงานเทศกาลปีใหม่ ยามที่งานเฉลิมฉลองสิ้นสุด ทุกคนต่างกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติ พร้อมกับโชคลาภและสิ่งดี ๆ ที่มาพร้อมกับปีใหม่

เชิญมาแอ่วงานปี๋ใหม่ม้งตี้ป่ากลางบ้านเฮา

เที่ยวศึกษาศิลปะวัฒนธรรมชนเผ่าม้ง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

Our Gallery

Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image