เทศกาลดอกชมพูภูคาบาน ประจำปี

"สูงสุดเทียบ..เลียบฟ้าพงป่าพฤกษ์ ให้จารึกดวงมาลย์เมื่อบานช่อ หวนคำนึงถึงเจ้าเคยเคล้าคลอ รักพะนอแนบข้างมิห่างทรวง"
Image

เทศกาลดอกชมพูภูคาบาน เพื่อสืบสานชาติพันธุ์

เพื่อสืบสานและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของชาติพันธุ์ของท้องถิ่น อีกทั้ง เพื่อเป็นการเผยแพร่การท่องเที่ยวของอำเภอปัว ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการการจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ของชนกลุ่มหลายชาติพันธุ์ในพื้นที่อำเภอปัว

การจัดงานเทศกาลชมพูภูคาบาน สืบสานตำนานชาติพันธุ์ ครั้งนี้ จัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การจัดขบวนแห่การแสดงศิลปะพื้นบ้านการจัดขบวนแห่ ประเพณีวัฒนธรรมชนเผ่าต่าง ๆ การแสดงพื้นบ้าน ของหมู่บ้านต่าง ๆ หลายตำบลในพื้นที่อำเภอปัว ที่มาร่วมแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังได้จัดการแสดงโชว์จากสี่ชนเผ่าของชนชาวไทยภูเขา ประกอบด้วย ชนเผ่าม้ง ชนเผ่าเมี่ยน ชนเผ่าขมุ และการฟ้อนรำของชาวไทยลื้อ และชาวชาวพื้นเมืองด้วย

ทั้งนี้ เพื่อสืบสาน ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม รวมทั้งยังเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอปัว ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย การจัดงานมีกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การจัดขบวนแห่ชาติติพันธ์ของตำบลต่าง ๆ การแสดงบนเวทีของชุมชน การประกวดธิดาพญาผานอง การแสดงเดินแบบชุดพรรษา ณัฐพรรวมผ้าทอไทลื้อ โดย OTOP ป้าหลอมบ้านเก็ด OTOP-ส่งออกประเทศญี่ปุ่น โดยมีคุณอ้อย ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไทลื้อสู่ AEC ซึ่งการจัดงานได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนในพื้นที่ร่วมสืบสานประเพณี ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์นี้เป็นช่วงฤดูกาลของดอกชมพูภูคาบานได้มีนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ มาเที่ยวชมความสวยงามของดอกชมพูภูคา เป็นจำนวนมาก ซึ่งดอกชมพูภูคามีแห่งเดียวในโลก ที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งดอกชมพูพูคา ที่กำลังออกดอกพานสะพลั่ง มาตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม ไปจนถึงวันที่ 15 มีนาคมของทุก ๆ ปี


Image

ดอกชมพูภูคา

ชมพูภูคา เป็นพันธุ์ไม้หายากของไทยที่พบได้เพียงแห่งเดียว คือ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน ดอกของชมพูภูคาออกเป็นช่อใหญ่ มีดอกย่อยเรียงซ้อนกันแน่น กลีบดอกบานมีสีชมพูสวยงาม จนเป็นต้องการชื่นชมของนักท่องเที่ยว ซึ่งจะขึ้นชมได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ของทุกปี

เนื่องจาก ชมพูภูคา เป็นพันธุ์ไม้หายาก และมีลักษณะเด่นที่ดอกสวยงามนัก จนกระทั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ทรงพระราชทานให้ชมพูภูคา เป็นดอกไม้ประจำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย ชมพูภูคา มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศจีนตอนใต้ พบกระจายในมณฑลยูนนาน ของประเทศจีนตอนใต้ และไล่ลงมาถึงตอนเหนือของพม่า ลาว และไทย ชมพูภูคา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบได้เฉพาะในป่าดงดิบบริเวณไหล่เขาสูง ตั้งแต่ระดับความสูง 1,200 เมตร ขึ้นไป ในไทยถูกค้นพบเพียงแห่งเดียว คือ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน ค้นพบโดย ดร.ธวัชชัย สันติสุข เมื่อปี 2532 และต่อมาค่อยค้นพบเพิ่มขึ้นบนดอยภูคาเช่นกัน ทั้งนี้ ต้นชมพูภูคา ที่ค้นพบได้มีการเก็บรวบรวมเมล็ดมาเพาะขยายพันธุ์ และปลูกเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน


• วงศ์ : Bretschneideraceae
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bretschneidera sinensis Hemsl.

เชิญมาชมดอกชมพูภูคา

อำเภอปัว จังหวัดน่าน ร่วมกับชมรมการท่องเที่ยวอำเภอปัว เปิดงานเทศกาลดอกชมพูภูคาบาน เพื่อสืบสานชาติพันธุ์