เทศกาลโลกของกว่าง

เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการประลองกว่างอันเก่าแก่ของภาค เหนือให้แก่อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา และดำรงรักษาให้คงอยู่
Image

เทศกาลโลกของกว่าง

เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการประลองกว่างอันเก่าแก่ของภาค เหนือให้แก่อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา และดำรงรักษาให้คงอยู่ ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอปัว จังหวัดน่าน

กว่างเป็นชื่อเรียกด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มี 6 ขา มีทั้งชนิดมีเขาและไม่มีเขา ชอบกินน้ำหวานจากอ้อย มีวงจรอายุหนึ่งปีเริ่มจากระยะที่เป็นตัวหนอน หรือด้วงจะมีสีขาว อาศัยอยู่ในดิน กินเศษใบไม้ผุ ตอไม้หรือต้นไม้ที่ผุ ซึ่งนับเป็น การช่วยธรรมชาติในการช่วยย่อยสลายใบไม้กลายเป็นปุ๋ยให้ดินเป็นอย่างดี ต่อมาเจริญเติบโตกลายเป็นดักแด้ และด้วงกว่างเต็มวัยที่พร้อมสืบพันธ์ได้ จากนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนและดินอ่อน ด้วงกว่างที่เจริญเติบโตเต็มที่ก็จะ ดันดินออกมาสู่โลกภายนอก เพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ และผสมพันธ์ กว่างตัวผู้ที่แข็งแรงเท่านั้นที่มีโอกาสรอดเพื่อการผสมพันธ์ โดยกว่างจะต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงตัวเมีย ที่เรียกกันว่า การชนกว่าง และฝ่ายที่ชนะก็จะได้ผสมพันธ์ กับตัวเมีย นับเป็นการคัดเลือกสายพันธ์โดยธรรมชาติอย่างแท้จริง ซึ่งจากธรรมชาติเช่นนี้ จึงเป็นที่มาของกิจกรรมชนกว่างของชาวบ้านในภาคเหนือในช่วงว่างเว้นหลังจากปลูกนา จังหวัดน่านถือได้ว่ามีกว่างเป็นจำนวนมาก แต่ในปัจจุปันนี้ เริ่มมีจำนวนลดลงเพราะมีการเผาป่าใช้สารเคมี ไข่และตัวอ่อนในดินจึงไม่รอดชีวิตเติบโตมาได้ อย่างไรก็ตามหากฤดูฝนปีใดมีจำนวนกว่างมาก ก็นับได้ว่าเป็นการบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินได้ด้วย

เทศกาลโลกของกว่างนักสู้แห่งขุนเขา มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การแสดงนิทรรศการโลกของกว่างและวงจรชีวิตของกว่าง และภูมิปัญญาพื้นบ้าน การแสดงและจำหน่ายสินค้าท้องถิ่น การ จำหน่ายสินค้าราคาถูกจากคาราวานสินค้า การออกร้านมัจฉาพาโชค การแข่งขันประลองกำลังกว่าง การประกวดกว่างสวยงาม การแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปิน มหกรรมอาหาร การแข่งขันกีฬาตระกร้อ และวอลเล่ย์บอล การ ประกวดวาดภาพ การประกวดแข่งขันร้องเพลง การประกวดเทพีกว่าง การประกวดธิดากว่างจำแลง


Image

กว่าง

กว่าง เป็นแมลงจำพวกด้วงปีกแข็ง ในทางอนุกรมวิธานแมลงได้จัดกว่างให้อยู่ในวงศ์ไดแนสตินี่ วงศ์สคาราบิอิดี้ อันดับโดลีออพเทอร่า ชั้นอินเซ็คต้า หรือเฮกซาโปด้า ส่วนชื่อสามัญนั้นมักเรียกต่างกัน เช่น ด้วงกว่าง ด้วงแรดและด้วงเฮอร์คูลีส หรืออาจมีชื่อเรียกตามชนิดของกว่าง เช่น กว่างซาง กว่างซางเขาใหญ่ กว่างชน

กว่างในเมืองไทย ในประเทศไทย พบหลายชนิดซึ่งมีการกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภาค ตัวเต็มวัยอาศัยพืชและผลไม้หลายชนิดเป็นอาหาร คนไทยในถาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมนำตัวเต็มวัยของกว่างมาทำเป็นอาหาร นำมาเป็นสัตว์เลี้ยง เลี้ยงไว้เพื่อการชนกว่าง นำมาเป็นของที่ระลึก และเก็บสะสม

ชนิดของกว่างที่พบในประเทศไทย
1. กว่างชน (กว่างโซ้ง แมงคาม) แหล่งที่พบ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง
2. กว่างซางเหนือ (กว่างห้าเขา กว่างซาง) แหล่งที่พบ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง
3. กว่างซางสยามหรือซางอีสาน แหล่งที่พบ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขาใหญ่
4. กว่างซางเมืองกาญจน์หรือซางพม่า แหล่งที่พบ ระนอง กาญจนบุรี ตาก
5. กว่างสามเขาเขาใหญ่ แหล่งที่พบ กาญจนบุรี เขาใหญ่ จันทบุรี ตราด น่าน ภาคใต้
6. กว่างสามเขาจันทร์ แหล่งที่พบ จันทบุรี ภาคใต้
7. กว่างญี่ปุ่น แหล่งที่พบ ภาคเหนือ (อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย)
8. กว่างกอก แหล่งที่พบ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

เทศกาลโลกของกว่าง

งานเทศกาลโลกของกว่าง อำเภอปัว จังหวัดน่าน